f
กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 14 ต.ค. 64
ลงวันที่ 15/10/2564
  กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 14 ต.ค. 64
พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 11 จังหวัด การจราจรผ่านไม่ได้ 13 แห่ง เร่งดำเนินการฟื้นฟูสายทางที่ได้รับผลกระทบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใยต่อประชาชนจึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที พร้อมกำชับให้เร่งสำรวจเส้นทางการคมนาคม ที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยและแก้ไขซ่อมแซมฟื้นฟูโดยเร็วเมื่อสถานการณ์อุทกภัยมีความคลี่คลายเพื่อให้เส้นทางการคมนาคมกลับมาใช้งานได้ปกติโดยเร็ว
กรมทางหลวงรับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมปฏิบัติตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัดและติดตามข้อมูลปริมาณและทิศทางน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบเส้นทางการสัญจรที่จะได้รับผลกระทบ รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ จัดหาเส้นทางเลี่ยงและประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบล่วงหน้า และจัดเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนด้านการจราจรบน พร้อมตั้งจุดให้บริการประชาชน จัดเจ้าหน้าที่ รถ Mobile Service และรถบรรทุกช่วยเหลือประชาชน แจกถุงยังชีพและช่วยทำความสะอาดบ้านเรือนและสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักร ยานพาหนะ กรณีมีการร้องขอจากหน่วยงานอื่นๆ หรือประชาชนเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน
สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 11 จังหวัด ( 26 สายทาง 46 แห่ง) โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ 1) จ.ขอนแก่น 2) จ.มหาสารคาม 3) จ.มุกดาหาร 4) จ.นนทบุรี 5) จ.อ่างทอง 6) จ.พระนครศรีอยุธยา 7) จ.สุพรรณบุรี จ.นครสวรรค์ 9) จ.จันทบุรี 10) จ.ปราจีนบุรี 11) จ.สระแก้ว ซึ่งมีการจราจรผ่านไม่ได้ 13 แห่ง ดังนี้
1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 240 ซม.
- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+625 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์
- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+785 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์
2. จ.มหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.213 มหาสารคาม-หนองขอน ช่วง กม.5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 210 ซม.ลำน้ำชีล้นตลิ่ง มีระดับน้ำสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ ทำการปิดทางลอดอุโมงค์ใต้สะพาน
3. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.307 แยกสวนสมเด็จ-สะพานนนทบุรี ช่วง กม.ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 20 ซม.
4. จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 150 ซม.
- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 33+200 (จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.) ระดับน้ำสูง 90 ซม.
- ทล.33 นาคู-ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+000-36+200 (สี่แยกไฟแดงป่าโมก) ระดับน้ำสูง 20 ซม.
5. จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล. 347 บางกระสั้น – บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 25 ซม.
ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 165 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 165 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
6 จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
- ทล. 33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 80 ซม. ใช้ทางกลับรถ
ข้างหน้าแทน
- ทล. 340 สาลี - สุพรรณบุรี กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 130 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1

'